วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ลำเรื่องต่อกลอน

ลำเรื่อง คือการเดินเรื่องของการลำ ซึ่งมีตัวละครที่มีบทบาทต่างๆกัน เหมือนการแสดงประกอบนิทาน แต่เป็นการแสดงด้วยวิธีการลำพื้นบ้าน มีหลายทำนอง เช่น ทำนองขอนแก่น ทำนองกาฬสินธุ์ ทำนองอุบล
ลำเรื่องต่อกลอน
เป็นการลำที่มีผู้แสดงครบหรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนิน การแสดงมีอุปกรณืประกอบทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจังและยังมีเครื่องดนตรีประกอบแต่เดิมทีมีหลัก ๆคือ พิณ (ซุง หรือ ซึง) แคน กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอนหมอลำแสดงเป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้ อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ต่อมาเมื่อดนตรี ลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของ ลำหมู่อีกครั้งหนึ่งโดยได้ประยุกต์ กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง(หมอลำ) มาร้องเพลงลูกทุ่งหรือบางคณะหมอลำได้นำเพลงสตริง ที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่อง ดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟู มากที่สุดคณะหมอลำดัง ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัดขอนแก่น มหาสารคามอุบลราชธานีหมอลำหมู่สามารถแบ่งตามทำนองของบทกลอน ลำได้อีกซึ่งแต่ละทำนองจะออกเสียงสูงต่ำไม่เหมือนกัน ได้แก่ ทำนองขอนแก่น ทำนองกาฬสินธิ์ มหาสารคาม ทำนองอุบล เป็นต้น

ที่มา : http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=somsakksn&topic=5&Cate=18 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น